วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สวัสดีค่ะ วันนี้มาพบกันอีกแล้วนะค่ะสำหรับเนื้อหาที่จะนำมาเสนอในวันนี้นะค่ะ ก็คือเนื้อหาในเรื่องหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยค่ะซึ่งได้เรียนในวันที่ 7 มกราคม 2553ที่ผ่านมาค่ะ

หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติของเด็ก การเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรที่ลึกซึ้งแล้ว ยังจะต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยด้วยคือ
1.สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2.เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเอง
3.มีเป้าหมายและการวางแผนเป็นอย่างดี
4.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนการสอนและลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5.ใช้วิธีการรจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6.ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7.รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8.ใช้วิธีการสอนแทรกกับชีวิตจริง
9.ใช้วิธีสอนให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติจริงเกี่ยวกับตัวเลข
10.วางแผนส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ทั้งที่โรงเรียนและบ้านอย่างต่อเนื่อง
11.บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสมำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง
12.คาบหนึ่งควรสอนเพียงความคิดรวบยอดเดียว
13.เน้นกระบวนการ

สำหรับหลักการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กมีมีเพียงเท่านี้ สำหรับใครที่มีข้อเสนอแนะก็ฝากไว้ได้นะคะ...ขอบคุณค่ะ

ขอบข่ายหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

สวัสดีค่ะวันนี้มาพบกันอีกครั้งในครั้งนี้จะขอนำเสนอบอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งได้เรียนกันในวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมาและอาจารย์ได้ทบทวนให้ในวันที่ 21 มากราคม 2553 ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้ค่ะ


ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยไว้ดังนี้
1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น


2. ตัวเลข เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม


3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน


4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้


5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า


6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น


7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ


8. การวัด มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน


9. เซต เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น


10. เศษส่วน ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?


11. การทำตามแบบหรือลวดลาย เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์


12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม




สำหรับท่านที่มีเสนอแนะแนะเพิ่มเติมสามารถแนะนำได้นะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

MIND MAP หน่วยมะละกอ


วันนี้มาพบกันอีกครั้ง ในวันนี้จะขอนำเสนอ MindMap หน่วยมะลกอค่ะ ซึ่งเป็นการวางแผนสำหรับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เพื่อทดสอบสอน ณ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้เลือกทำในหน่วยมะละกอ ซึ่งเนื้อหาที่จะสอนเราได้มีการเขียนเป็นความคิดรวบยอดดังกล่าวที่นำเสนอมาข้างต้น

บันทึกการเข้าเรียน (21 มกราคม 2553)

สวัสดีค่ะหลังจากที่ห่างหายจากวงการไปซะตั้งนาน วันนี้เป็นวันดีก็เลยได้พบกันอีกครั้งค่ะ และถ้าไม่พบกันวันนี้ไม่รู้ว่าคะแนนบล็อคจะได้คะแนนน้อยนิดเท่าไหร่ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันเลยนะค่ะ ในวันนี้เราได้เรียนกันที่ห้องคอมค่ะ รู้สึกหนาวนิดหน่อย(หนาวใจนะค่ะ) วันนี้อาจารย์ตรวจงานที่มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มไปทำมา แต่ก็มีหลายๆกลุ่มที่เปิดไม่ได้และหาไม่เจอบ้าง และหลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มเป็น 3 ช่วงอายุ คือ
อนุบาล 1 ( 3-4)
อนุบาล 2 ( 4-5 )


อนุบาล3 (5-6)


และแบ่งเป็น 2สาย คือ A และB และกลุ่มของดิฉันจับได้กลุ่ม B อนุบาล 3 ซึ่งพวกเราได้เลือกที่สอนหน่วยดอกไม้ค่ะ ซึ่งรู้สึกว่ายากมากแต่ก็ต้องทำให้ดีที่สุดค่ะ สู้สู้
และหลังจากนั้นอาจารย์ได้มอบหมายให้ร้อยลูกปัดกับลวดกำมะหยี่ จำนวน 10 เส้น ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายจนนักศึกษาจะเข้าใจ แต่ดิฉันก็ไม่เข้าใจอยู่ดี แต่ก็ถามเพื่อนที่คิดว่าเข้าใจ ( แต่ก็ทำมาผิดทุกคนเลย เสียใจ เสียใจ ) แต่ไม่เป็นไรเค้บอกว่าผิดเป็นครู....


สำหรับวันนี้ก็เท่านี้ก่อนแล้วกันนะค่ะ แล้วพบกันใหม่ค่ะ

บันทึกการเข้าเรียน (28 มกราคม 2553)

สวัสดีค่ะพบกันอีกแล้วนะคะ (ไวเหมือนโกหกเลย) สำหรับการเรียนในวันนี้อาจารย์ได้อธิบายถึงเรื่องที่จะต้องสอนในแต่ละหน่วย ซึ่งมีหน่วยแมลง(กลุ่มA )และหน่วยดอกไม้ (กลุ่ม Bซึ่งเป็นกลุ่มของพวกเราเองค่ะ) ซึ่งการเรียนในวันนี้รู้สึกไม่ค่อยดีเลยค่ะเพราะอาจารย์ถามอะไรพวกเราก็มักจะไม่ค่อยตอบเลยแต่อาจารย์ก็ยังอดทนสอนพวกเราและยังอธิบายเพื่อให้เข้าใจกันได้ทุกคน สำหรับเรื่องที่จะต้องสอนในชั้นต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ค่ะ

หน่วยแมลง อนุบาล 1 แมลงที่เด็กๆรู้จัก ลักษณะของแมลง ประโยชน์ โทษ
อนุบาล 2 เจาะจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งได้เลือเป็นยุง
อนุบาล 3 ประเภทของแมลง(ซึ่งสอนแมลงปีกอ่อนและปีกแข็ง) การสำรวจแมลง วิธีการทำให้แมลงมาหาเรา



หน่วยดอกไม้
อนุบาล 1 ดอกไม้ที่เด็กๆรู้จัก ลักษณะของดอกไม้ ประโยชน์ โทษ
อนุบาล2 เจาะจงเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งได้เลือก ดอกกุหลาบ
อนุบาล 3 ประเภทของดอกไม้ ( ดอกเดี่ยวและดอกช่อ) ไม้ดอกไม้ประดับ วิธีการปลูกดอกไม้ การดูแลรักษ่า ข้อควรระวังที่เกิดจากดอกไม้
หลังจากที่อาจารย์อธิบายเนื้อหาที่จะต้องสอนเสร็จแล้วอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มไปเขียนแผน 1 สัปดาห์และส่งเมล์ให้อาจารย์ด้วยค่ะ สำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ก็จบลงได้ด้วยดีค่ะ

บันทึกการเข้าเรียน (4 กุมภาพันธ์ 2553)

**_** สวัสดีค่ะแล้วก็มาพบกันอีกเช่นเคยค่ะ สำหรับการเรียนในวันนี้เป็นวันที่ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองตั้งใจเรียนมากกว่าทุกวันคะ (ไม่ตั้งใจไม่ได้แล้วนาทีนี้)เพราะอาจารย์ได้อธิบายถึงเนื้อหาและการเขียนแผนการจัดประสบการณ์อย่างละเอียดเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตามบางครั้งก็ไม่ค่อยได้สนใจมากเท่าไหร่ตอนที่อาจารย์อธิบายกลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มตัวเอง(ไม่ดีเลยค่ะ) และนอกจากนั้นอาจารย์ยังสอนเนื้อหาซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ค่ะ
การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ในการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กนั้น เราควรให้เด็กได้มีประสบการณ์กับของจริง เพราะเด็กวัยนี้ยังมีประสบการณ์ไม่มากดังนั้นถ้าเราสอนโดยให้เด็กเรียนรู้จากของจริงจะทำให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นจึงใช้รูปภาพ เพราะเด็กมีประสบการณ์มากแล้วจึงสามารถที่จะเรียนรู้จากภาพได้ และสุดท้ายคือเรียนรู้จากสัญลักษณ์เด็กที่เรียนรู้ได้จากสัญลักษณ์มักจะเป็นเด็กอนุบาล 3 ที่สามารถเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรมได้
ของจริง -->ภาพ-->สัญลักษณ์
การจัดประสบการณ์ให้ประสบผลสำเร็จ
1.ต้องรู้" พัฒนาการ"ของเด็ก
- เพื่อจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- เพื่อบูรณาการกิจกรรมต่างๆได้เหมาะสม
- เพื่อประเมินพัฒนาการเด็กได้อย่างถูกต้อง
2.ต้องรู้"ความต้องการของเด็ก
3.ต้องรู้ธรรมชาติของเด็ก
4.วิธีการเรียนรู้ของเด็ก
- ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการลงมือกระทำกับวัตถุ ( ตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส กายสัมผัส และปฏิบัติจริง)-------->>

การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
1.เพลงที่ใช้ต้องเขียนลงในสื่อการสอน
2.ถ้าขั้นนำนำโดยเพลง คำคล้องจอง นิทาน จะต้องสนทนาเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆก่อนจะข้ามเลยไม่ได้
และการเรียนการสอนในวันนี้ก็จบลงได้ด้วยดีค่ะ ถึงแม้ว่าจะเลิกช้ากว่ากำหนดแต่ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดีค่ะ เพราะได้ความรู้จากการเรียนในวันนี้อย่างมามายค่ะ

สาธิตการสน (10 กุมภาพันธ์ 2553)

สวัสดีค่ะวันนี้ก็มาพบกันที่เก่าเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ค่ะ สำหรับในวันนี้รู้สึกตื่นเต้นค่ะเพราะจะ ได้สาธิตการสอนแล้วทุกคนดูเหมือนจะเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีค่ะ แต่ก็ยังรู้สึกตื่นเต้นอยู่ดีเพราะกลัวว่าสอนไม่ถูก(แต่เค้าว่ากันว่ผิดเป็นครู)ดังนั้นเราจะเป็นครูเราก็ผิดบ้าง ซึ่งในการสอนของแต่ละคนอาจารย์ก็ได้แนะนำวิธีการสอนได้อย่างละเอียด ซึ่งในวันนี้ได้สอน 3 กลุ่ม คือกลู่ม B หน่วยดอกไม้ซึ่งเป็นกลุ่มของเราด้วยตื่นเต้นตื่นเต้นแต่มองดูเวลาก็ล่วงเลยมากมายแล้วกลัวว่าจะไม่ได้สอนแต่เวลาแห่งการรอคอยก็มาถึงจนได้เราได้สาธิตการสอนจนได้โดยมีเสียงอาจารย์เรียก" เอ้ากลุ่มอนุบาล 3 " *-*โอ้...ตื่นเต้น
แผนการจัดประสบการณ์หน่วยดอกไม้ (เรื่องการปลูกดอกไม้)
อนุบาล 3 วันที่ 3


กิจกรรมเสริมประสบการณ์
จุดประสงค์
1.เด็กๆบอกขั้นตอนการปลูกดอกไม้โดยการปักชำอย่างง่ายๆได้
2.เด็กๆสามารถปลูกดอกไม้ได้
3.เด็กๆปฏิบัติตามคำสั่งได้
กิจกรรมการสอน
ขั้นนำ
ครูและเด็กๆร่วมกันร้องเพลง"ปลูกดอกไม้"
ขั้นสอน
1.ครูและเด็กร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับเพลงโดยใช้คำถามดังนี้
- เด็กๆเคยปลูกดอกไม้อะไรบ้าง
- เด็กๆมีวิธีปลูกดอกไม้อย่างไรบ้าง
2.ครูและเด็กร่วมกันวางแผนปลูกดอกไม้
3.ครูและเด็กร่วมกันสร้างข้อตกลง( ไม่แย่งของกัน เก็บของเข้าที่เมื่อทำกิจกรรมเสร็จ)
4.ครูแนะนำอุปกรณ์ในการปลูกดอกไม้
5.ครูสาธิตวิธีการปลูกดอกไม้
6.เด็กปลูกดอกไม้และมอบหมายหน้าที่ในการดูแลดอกไม้ของตนเอง
ขั้นสรุป
ครูและเด็กร่วมกันสรุปเรื่องกิจกรรมการปลูกดอกไม้ที่ได้ปฏิบัติ


สื่อ
1.ดิน
2.อุปกรณ์ในการปลูกดอกไม้
3.ต้นคุณนายตื่นสาย
4.น้ำ
5.เพลง ปลูกดอกไม้
" มาซิจ๊ะเชิญเธอมา มาปลูกดอกไม้กันเถอะ
มาซิจ๊ะเชิญเธอมา มาปลูกดอกไม้ด้วยกัน
ปลูกดอกไม้ในวันนี้ เพื่อโลกที่สวยงามสดใส
ทั้งช่วยลดโลกร้อน ช่วยอากาศแจ่มใส
มามะเร็วไว ร่วมใจกันปลูก"
การประเมิน
1.สังเกตการตอบคำถาม
2.สังเกตจากการทำกิจกรรม


****การบูรณาการสอนทางคณิตศาสตร์ เรื่องการวัด การชั่ง การตวง โดยใช้เครื่องมืออย่างง่าย ( กิจกรรมการปลูกดอกไม้)
**สิ่งที่อาจารย์แนะนำ**
1.สีในการเขียนแผ่นชาร์ตเพลงต้องเป็นสีที่ชัดเจนไม่เป็นสีสะท้อนแสง
2.ต้องมีหัวและเขียนให้ชัดเจน
3.อาจจัดให้ปลูกเป็นกลุ่มย่อย